วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

งานชิ้นที่ 2 ศึกษาเรื่องราวของเทคโนโลยีสารสนเทศที่น่าสนใจ

 Skype  
     
       Skype คือ โปรแกรม Instance Messenger ที่สามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั้ง ระบบปฏิบัติการ Window, Macintosh, Linux และ Window pocket PC เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารทั่วโลกผ่านทางเสียงที่ มีคุณภาพ (Voice), ข้อความ (Chat), ข้อความด่วน (Instant Message), และใช้ส่งไฟล์แบบเรียลไทม์ (Real Time Send File) หรือแม้กระทั่งการติดต่อผ่าน VDO conference ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Skype ถูกพัฒนาโดยบริษัท Skype Technology ประเทศลักเซมเบิร์ก ในทวีปยุโรป แต่ปัจจุบันได้ขายให้กับ eBay ด้วยมูลค่าเงินสดถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาท เมื่อปลายปี 2548 เพื่อหวังใช้อินเทอร์เน็ตโฟนเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายบนตลาดออนไลน์ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
         Skype ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer ซึ่งผู้ใช้งานจะมีการติดต่อโดยตรงระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ใช้งานอื่นที่กำลังออนไลน์อยู่ ในขณะนั้น โดยไม่มีการผ่าน Server ของผู้ให้บริการ คุณภาพของการสื่อสารด้วยเสียงจึงไม่ถูกลดทอนลงไปด้วยเส้นทางของการสื่อสาร
         การทำงานหลัก ๆ ของ Skype นั้น จะคล้ายกับโปรแกรม MSN และ Yahoo massager แต่แตกต่างกันที่ Protocol และเทคนิคในการส่งข้อมูล  จึงทำให้ Skype มีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า MSN และ Yahoo messenger และข้อมูลที่รับส่งทุกอย่างจะมีการเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยี RC4
               
VoIP คืออะไร    
               
 VoIP ย่อมาจาก Voice Over Internet Protocol หรือ การสื่อสารโดยใช้เสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีรูปแบบการใช้งานคล้ายๆกับการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน (PSTN = Public Switch Telephone Network) แต่มีราคาค่อนข้างถูกมากจนมีบางองค์กรหรือ บุคคลทั่วไปนำไปใช้งานแทนการโทรศัพท์แบบพื้นฐาน (PSTN) ซึ่งสามารถโทรฯ ได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกในราคาของการเช่าใช้อินเทอร์เน็ต กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ในต่างประเทศมีการใช้ เทคโนโลยีนี้กันมานานแล้ว หรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็มีการใช้มานานแล้วเช่นกัน เพียงแต่ว่าเราไม่รู้หรือไม่ตระหนักเท่านั้นเอง โปรแกรมที่เราคุ้นเคยกันส่วนมากก็คือ MSN และ Skype นั่นเอง ในปัจจุบัน VoIP มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องจนมีมาตรฐานการเชื่อมต่อออกมาอย่างมากมาย แต่อย่างไรก็ดีในการใช้งานก็จะยังอุปสรรคที่ต้องพัฒนาและแก้ไขอยู่ เช่น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ต คุณภาพของอุปกรณ์ และความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

Internet Protocol (IP) คืออะไร
               
Internet Protocol หรือ IP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลในระบบ Internet มีการทำงานสรุปได้ดังต่อไปนี้
               
- ข้อมูลจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ
               
- ข้อมูลแต่ละส่วนจะถูกส่งออกไปในเส้นทางที่อาจจะแตกต่างกันบนระบบ Internet
               
- ข้อมูลย่อยแต่ละส่วนจะไปถึงปลายทางในเวลาและลำดับที่ไม่พร้อมเพรียงกัน
               
- หลังจากนั้นจะมีโปรโตคอลอีกหนึ่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ Transmission Control Protocol (TCP) ซึ่ง TCP นี้จะเข้ามาช่วยในการเรียงลำดับข้อมูลที่มาถึงยังปลายทางให้อยู่ในลำดับและรูปแบบที่ถูกต้องเหมือนข้อมูลต้นแบบก่อนที่จะถูกส่งออกมา
 
               - โปรโตคอล IP จะเป็นโปรโตคอลในการสื่อสารแบบที่เรียกว่า Connectionless Protocol ซึ่งเป็นการสื่อสารที่จุดต้นทางและปลายทางของการสื่อสารไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างการเชื่อมต่อ (connection) ขึ้นมา ณ เวลาที่ต้องการทำการสื่อสาร
                หลักการทำงานของ
VoIP
                หลักการทำงานของ
VoIP คือ การแปลงสัญญาณเสียงให้เป็น Data Packet เพื่อส่งผ่านเครือข่าย Internet เหมือนข้อมูลอื่นๆที่ส่งผ่าน Internet และทำการแปลงข้อมูลส่งกลับไปเป็นเสียงเพื่อส่งเข้าเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งการสื่อสารชนิดนี้จะให้ผลลัพธ์เหมือนกับการใช้โทรศัพท์ปกติ โดยที่ผู้รับสายอาจไม่สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างได้ เนื่องจากเสียงมีความคมชัดเหมือนโทรศัพท์ทั่วๆไป


ประเภทของ VoIP
                การบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
                1.
PC – to – PC (จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์) วิธีการนี้อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งต้นทางและปลายทางพร้อมทั้งติดตั้งโปรแกรมเดียวกัน หรือติดตั้งโปรแกรมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ซึ่งรูปแบบนี้เป็นวิธีการสื่อสารที่ไม่ต้องเสียค่าบริการโทรศัพท์แต่อย่างใด
                2. 
PC – to – Phone (จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปสู่เครื่องโทรศัพท์) เป็นรูปแบบที่ใช้ได้กับผู้ใช้ต้นทางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมโทรศัพท์ โดยผู้รับปลายทางใช้เครื่องโทรศัพท์ธรรมดา แต่วิธีนี้ต้องอาศัยผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเข้ากับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ท้องถิ่น (Internet Telephone Service Provider หรือ ITSP) โดยผู้ใช้บริการต้องเสียค่าบริการตามเวลาที่ใช้งานจริง
                3.
Phone – to – PC (จากเครื่องโทรศัพท์ไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์) วิธีนี้ใช้หลักการเดียวกันกับ PC – to – Phone แต่ต้นทางจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา ขณะที่ปลายทางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์แทน ซึ่งผู้ใช้งานต้องเสียค่าบริการตามที่ใช้งานจริงเช่นเดียวกัน
                4.
Phone – to – Phone (จากเครื่องโทรศัพท์ไปสู่เครื่องโทรศัพท์) เป็นวิธีที่ต้นทางและปลายทางจะต้องอาศัยการบริการจาก ITSP ซึ่งทำให้ค่าบริการสูงกว่าวิธีอื่นๆ แต่เป็นวิธีที่ง่ายและเป็นที่คุ้นเคยในการใช้งานมากที่สุด


การใช้งาน Skype
                ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเราสามารถใช้งาน Skype ได้ทั้งในแบบ PC to PC และ PC to Phone ดังนั้นการใช้งานก็จะแตกต่างกันไป รวมถึงค่าใช้จ่าย ในการโทรแต่ละแบบก็จะแตกต่างกันไปด้วย
                การใช้บริการ Skype แบบ PC to PCมีลักษณะดังต่อไปนี้
                -  Skype เป็นบริการโทรฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย
                - ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ทั้งฝั่งต้นทางและปลายทาง
             
- ผู้ใช้ต้องออนไลน์ อินเทอร์เน็ตทั้งต้นทางและปลายทาง
                การโทรศัพท์ผ่าน
Skype แบบ PC to Phone (Skype Out) นั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้
               - ผู้ใช้จะเสียค่าบริการตามอัตราบริการ Skype Out ที่ขึ้นอยู่กับประเทศปลายทาง
               - จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์เพียงเพียงต้นทางก็ใช้ได้แล้ว
               - มีการออนไลน์อินเตอร์เน็ตเพียงต้นทางที่จะทำการโทรเท่านั้น 
                การ
Download Skype
                เราสามารถ
download โปรแกรม Skype ได้จากเว็บไซต์ http://www.skype.com /helloagain.html  คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งาน Skype ควรมีคุณสมบัติขั้นต่ำดังนี้       
               
- ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows 2000 หรือ Windows XP 
                -  CPU 400 MHz ขึ้นไป
                - RAM 128 Mb ขึ้นไป
 
              - มีพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 10 MB
               
- การ์ดเสียง (Sound Card),ลำโพง (speakers)และไมโครโฟน
 
              - การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต(ความเร็วของโมเด็มต่ำสุดที่ใช้งานคือ 33.6  Kbps)
                ข้อดีของการใช้โปรแกรม
Skype
                 ข้อดีของการใช้โปรแกรม Skype สามารถสรุปได้ดังนี้
                1)   ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม   เพราะใช้งานโดยระบบ
online ผ่านอินเตอร์เน็ตตามปกติอยู่แล้ว
                2)   ช่วยลดค่าโทรศัพท์ทางไกล    และเป็นการใช้ทรัพยากรที่เราลงทุนไปแล้วอย่างคุ้มค่า
               
ข้อดี      
                1. สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน เพราะสามารถใช้ไมโครโฟนที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือHeadset ที่สามารถพูดคุยได้
                2.สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
                3. มีคุณภาพเสียงที่ดี ไม่มีคลื่นรบกวน
                4. รองรับได้หลายภาษา
                5. โปรแกรมสามารถทำงานได้ดีกับโปรแกรม Firewall และ NAT ( Network  Address  Translation ) จนการันตีได้ว่าไม่มี Spyware  เข้ามาก่อกวน
                6. Skype ทำงานในรูปแบบจุดต่อจุด ( P2P ) โดยไม่มีการผ่าน Server ของผู้ใช้บริการ
                7. ค้นหาผู้ที่จะสนทนาด้วยจากสมาชิกที่ออนไลน์อยู่ได้

                ข้อดีของ Skype ที่มีมากกว่า MSN
               
ข้อดีของการใช้โปรแกรม Skype ที่เหนือ MSN สามารถสรุปได้ดังนี้
               
- สามารถ Conference ได้ ซึ่ง MSN สามารถคุยได้ 1 : 1 เท่านั้น
               
- เสียงชัดกว่า MSN มาก
               
- สามารถ Chat ได้เหมือน MSN
                - เป็นโปรแกรมที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
               - สามารถซื้อการ์ดโทรเข้าโทรศัพท์ได้
                อุปสรรคในการใช้ Skype
                 อุปสรรคในการใช้ Skype อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
                                1.ระบบสัญญาณการสื่อสารของผู้ให้บริการ ADSL หรือโทรศัพท์  จุดที่ตั้งอาจอยู่ห่างไกลจากจุดที่เราใช้มากเกินไป
                                2. ช่วงเวลาที่ใช้  กรณีที่มีผู้ใช้พร้อมกันมากๆ  ก็มีสภาพคล้ายกับถนนที่บางครั้งรถหนาแน่นก็วิ่งได้ช้า กรณีไม่มีรถวิ่ง ก็วิ่งได้เร็ว  เช่นเดียวกับอุปสรรคที่พบในการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป เราจึงพบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน บางเวลามีเสียงดังฟังชัด ภาพไม่กระตุก แต่เวลามีคนใช้มากก็จะกระตุก เสียงไม่ชัดเป็นต้น   และคาดว่าเมื่อมีผู้ใช้โปรแกรม Skype กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น อาจทำให้ติดต่อกันได้ยากขึ้น
                                3.คุณภาพเสียง และภาพ ขึ้นกับคุณภาพอุปกรณ์ที่ติดตั้ง   เช่น ไมโครโฟนที่แยกต่างหากจากหูฟังจะส่งสัญญาณเสียงได้ดีกว่า แต่อาจไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้เท่าไมโครโฟนติดหูฟัง    อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคากล้องถูกลงมาก ราคาเพียง 500 – 1,000 บาทก็ได้คุณภาพดีพอเพียง จึงช่วยให้การใช้งาน Skype มีแนวโน้มว่ามีคุณภาพมากขึ้น
                ปัญหาที่พบในการใช้งาน
                               1.  การใช้ Skype กับสัญญาณแบบ ADSL หรือผ่าน Dial Up Modem จากคุณสมบัติข้างต้นก็พอจะบอกได้ว่า ใช้สาย ADSL นั้นดีกว่าแน่นอน เพราะ ADSL สามารถช่วยรับส่งข้อมูลได้ถึง 2 Mbps ส่วนโมเด็มนั้นส่งได้เพียง 56 Kbps เท่านั้น
                                2. บางครั้งขณะคุยกันสองสาย ผู้ใช้จะมองเห็นภาพได้ แต่พอมีสายที่สามเรียกเข้ามาภาพกลับหายไป เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะคุณสมบัติของโปรแกรมทำให้สามารถมองเห็นได้เพียงสองรายที่ติดต่อกัน หากเรียกเข้ามาภาพจะหายไปแต่สัญญาณเสียงยังคงอยู่ และพูดคุยกันได้สูงสุด 5 ราย แต่ก็ขึ้นอยู่กับสัญญาณการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตของแต่ละจุดด้วยว่าจะได้ยินชัดหรือพูดแล้วสายอื่นๆจะได้ยินหรือไม่อย่างไร      
                                3.  สำหรับการรับส่งแฟ้ม ก็ควรเป็นแฟ้มขนาดไม่ใหญ่นัก (ไม่ควรเกิน 1 MB) และขณะรับส่ง ต้องไม่รับการติดต่อจากการเรียกสายเข้าของสายที่สาม เพราะจะทำให้การรับส่งขณะนั้นหยุดลง
                                4.  ความไม่เข้าใจภาษาอังกฤษที่สื่อสารอยู่บนหน้าเว็บเพจ  อาจทำให้ใช้งานผิดพลาดได้ผู้ใช้บางรายลองเสี่ยงกด “OK”  ไปเรื่อยๆ ปรากฏว่ามีบิลมาเรียกเก็บค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศภายหลัง 
                                 ผู้ใช้บางท่านอาจได้รับฟังกันมาต่อๆ มาว่าใช้ Skype คุยกันได้ไม่เสียค่าโทรศัพท์เพิ่ม แต่ท่านต้องพูดคุยด้วยการใช้โปรแกรม Skype ผ่านคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เท่านั้น จึงจะไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่หากท่านใช้โปรแกรมนี้ เรียกเข้าโทรศัพท์บ้าน หรือโทรศัพท์มือถือ ทางเว็บไซต์ www.skype.com  ได้บอกเงื่อนไขไว้แล้วว่าจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประมาณนาทีละ 10 เซ็นต์  เนื่องจากข้อความนี้ถูกเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ผู้ใช้จึงต้องเอาใจใส่และระมัดระวัง



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Hi-Defคืออะไร
           Hi-Defหรือ HD ย่อมาจากคำว่า High Definition ซึ่งหมายถึง ความละเอียดสูง” นั่นเอง เดิมทีเราจะคุ้นกับระบบของ DVD-Video มาตรฐาน โดยมีความละเอียดของเส้นแนวนอนที่ 480 เส้น ในระบบ NTSC และ 576 เส้น ในระบบ PAL ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Standard Definition (SD) รองรับสัดส่วนภาพทั้งแบบ Fullscreen 4:3 และ Widescreen ส่วนระบบภาพที่มีความละเอียดสูงกว่านี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม High Definition (Hi-Defหรือ HD) เช่น 720 เส้น (1280×720 พิกเซล), 1080 เส้น (1920×1080 พิกเซล) เป็นต้น โดยจะใช้สัดส่วนภาพแบบ Widescreen ทั้งหมดด้วยอัตราบิตเรตที่ส่วนใหญ่จะสูงกว่าฟอร์แมต DVD-Video แบบเดิมๆ วิดีโอในฟอร์แมต HD ให้คุณภาพที่ดีกว่า DVD-Video ทั่วไป เช่น ที่ความละเอียด 1080i จะมีจำนวนจุดที่แสดงภาพมากกว่าถึง เท่า เมื่อเทียบกับภาพที่ได้จาก NTSC DVD ซึ่งไม่เพียงแต่ด้านรายละเอียดของภาพที่ดีกว่า แต่ยังรวมถึงคุณภาพของสีสันและความลื่นไหลของภาพด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบกันง่ายๆ ก็คือการดูหนังแบบ DVD เทียบกับ VCD ที่เราจะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนนั่นเอง



แต่เนื่องจากความละเอียดของภาพในฟอร์แมต HD ที่สูงกว่า ทำให้ขนาดของไฟล์วิดีโอสูงตามไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบภาพยนตร์เรื่องเดียวกันกับ DVD นั้น ฟอร์แมต HD จะมีขนาดไฟล์วิดีโอได้มากกว่า 20 GB เลยทีเดียว (เทียบได้กับ DVD5 จำนวน แผ่น) ภาพยนตร์ที่บันทึกแบบ HD จึงถูกบรรจุเอาไว้ในสื่อเก็บข้อมูลที่มีความจุสูงๆ อย่าง Blu-Ray เป็นต้น แน่นอนว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องเล่น Blu-Ray ด้วย แต่ถ้าไม่มีเครื่องเล่น Blu-Ray ราคาแพงละก็ HDD Player เป็นคำตอบสุดท้ายที่คุณสามารถเป็นเจ้าของได้โดยไม่ทำให้กระเป๋าแฟบ (* 0 *)!
HDD Player ดีอย่างไร
HDD Player จัดว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับนักดูหนังยุคใหม่ ที่ถนัดกับการซื้อหนังแบบออนไลน์ หรือดาวน์โหลดหนังตัวอย่างมาดู โดยเลือกที่จะไม่ดูกับคอมพิวเตอร์เพราะมีหน้าจอเล็กไป การทำงานของ HDD Player ก็จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูลตัวหนึ่ง แต่เป็นฮาร์ดดิสก์ที่สามารถนำมาต่อกับโทรทัศน์ได้ โดยเปิดเล่นไฟล์หนัง เพลง หรือรูปภาพที่เก็บไว้ในนั้นได้เลย ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาแปลงไฟล์ในฟอร์แมตต่างๆ ให้เป็น DVD ก่อน เพื่อนำไปเปิดกับเครื่องเล่นดีวีดี


นอกจากนี้ HDD Player บางรุ่น ยังสามารถต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์กภายในบ้านได้ เมื่อเราได้หนังเรื่องใหม่ๆ มาก็เพียงแค่โยนไฟล์ข้ามเน็ตเวิร์กจากคอมพิวเตอร์มาเก็บไว้ใน HDD Player ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาถอดฮาร์ดดิสก์ไปถอดมาระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ด้วย ข้อได้เปรียบของ HDD Player ก็คือ รองรับไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ VCD ไปจนถึงภาพยนตร์ระดับ HD ซึ่งเมื่อก่อนต้องใช้เครื่องเล่นแบบ Blu-ray เท่านั้น และยิ่งมีรุ่นใหม่ๆ ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ HDMI ให้มาด้วย ทำให้เราสามารถนำไปใช้กับโทรทัศน์รุ่นใหม่ๆ เช่น LCD TV ได้เลย


แค่เสียบสาย HDMI เท่านี้ก็พร้อมสำหรับทุกความบันเทิงแล้ว
HDD Player แบบไหนที่ต้องการ
HDD Player ในท้องตลาดก็มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นที่เล่นไฟล์ MPEG ได้เพียงอย่างเดียวไปจนถึงเล่นไฟล์ MKV ได้ ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นกล้องขนาด 2.5 นิ้ว สำหรับพกพาได้สะดวก และขนาด 3.5 นิ้ว ที่ต้องเสียบปลั๊กไฟบ้าน นอกจากนี้ยังมีราคาตั้งแต่ไม่กี่พันบาทไปจนถึงหมื่นต้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องเล่นแต่ละยี่ห้อ และที่ว่ามาทั้งหมดนั้นยังไม่รวมฮาร์ดดิสก์นะครับ  เราต้องซื้อหาฮาร์ดดิสก์มาใส่เองอีกที
HDD Player ที่ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ขนาด เทราไบต์ เท่านี้ก็เกินพอสำหรับภาพยนตร์นับร้อยเรื่อง
ที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกซื้อ HDD Player ก็คือการรองรับฟอร์แมตของไฟล์ต่างๆ ซึ่งเราต้องดูว่าเครื่องเล่น HDD Player นั้นรองรับไฟล์ฟอร์แมตที่เราต้องการได้หรือไม่ ปกติแล้ว ถ้าจะให้ดีก็ต้องรองรับไฟล์ฟอร์แมต MKV เพื่อที่จะสามารถดูไฟล์หนังความละเอียดสูงได้ (รายละเอียดของ MKV ดูได้จาก Note) ส่วนไฟล์ฟอร์แมตอื่นๆ เช่น ISO ซึ่งเป็นไฟล์ DVD ริปให้อยู่ในรูปของอิมเมจ นั้นเป็นเรื่องปกติแล้วสำหรับ HDD Player สมัยนี้



Note : MKV คืออะไร
ฟอร์แมตสำหรับหนัง Hi-Defปัจจุบันแบ่งออดเป็นสองแบบ ได้แก่  Full Rip คือการคัดลอกสำเนามาลงในคอมฯ เหมือนแผ่นต้นฉบับ 100% แต่วิธีนี้ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากถึง 25-40 GB ส่วนฟอร์แมตที่สองก็คือ MKV ซึ่งมีความสามารถในการบีบอัดข้อมูลจากขนาด 25-40 GB ให้เหลือเพียง 4-15 GB โดยให้คุณภาพใกล้เคียงกับ Full Rip แต่มีการตัดลูกเล่นต่างๆ ในแผ่นออกไปนั่นเอง
ราคาถูกแพงแตกต่างกันตรงไหน
เครื่องเล่น HDD Player มีราคาตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นไป ซึ่งถ้าจะแบ่งกลุ่มสำหรับเครื่องเล่นประเภทนี้คงแบ่งได้ตามตัวชิปที่นำมาใช้ โดยอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ชิปของ Sigma (ราคาสูง) เช่น Dvico, Popcorn, Dune กับกลุ่มที่ใช้ชิปของ Realtek (ราคาถูกกว่า) โดยความแตกต่างนั้นอาจจะอยู่ที่ความคมชัดเป็นหลัก นอกเหนือจากนั้นก็เป็นลูกเล่นอื่นๆ ที่ทำให้เครื่องบางยี่ห้อมีราคาแพงขึ้นด้วย เช่น หน้าตาที่ดูทันสมัย รองรับอินเทอร์เฟซได้มากกว่า เป็นต้น


Dvicoเครื่องเล่น HDD Player สัญชาติเกาหลี ที่เน้นเรื่องความคมชัด และฟังก์ชันที่หรูหรา
HDD ยี่ห้อ Play On เครื่องเล่น HDD Player ในระดับประหยัด
ตลาดที่กำลังเติบโต
เมื่อเปรียบเทียบกับความเติบโตของ HDD Player แล้ว ตอนนี้ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งจากผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ผลิตต่างๆ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงยี่ห้อโนเนมที่เราไม่คุ้นเคยเป็นผู้เปิดตลาดให้ แต่ตอนนี้ยี่ห้อที่เราคุ้นเคยเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นแล้ว ปัญหาเพียงอย่างเดียวสำหรับ HDD Player ก็คือ ต้นฉบับของหนังที่เราต้องมานั่งทำเองเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ต้องดาวน์โหลดเองจากอินเทอร์เน็ตเท่านั้นเอง อ้อเครื่องเล่น HDD Player ไม่ได้เพียงแค่รองรับไฟล์ภาพยนตร์อย่างเดียวนะครับ แต่จะฟังเพลง หรือว่าดูภาพก็ทำได้เหมือนกัน
ข้อดีข้อเสีย ประโยชน์  ของการใช้ Hd Player
ข้อเสีย คือเสียตั้งซื้ออย่างเดียว และลำบากหาหนังหาเพลงมา           
 ข้อดี
                    1. ไม่ต้องเสียเงินซื้อแผ่น เก็บข้อมูลดูจาก HDD เลย
                    2. ได้ภาพและเสียงคุณภาพสูง
                    3. บางรุ่นเล่น net ได้  พวก youtube
                    4. ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแผ่น
                    5. ใช้งานง่าย เหมือน folder ใน window





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น